ส่งของแช่เย็น แช่แข็ง ส่งพัสดุแช่แข็ง ขนส่งแช่แข็ง
Have a Question?

FAQ

คำถามที่พบบ่อยของงานขนส่งทางเรือเดินทะเลระหว่างประเทศ (Sea Freight)

สำหรับการส่งสินค้าทางทะเลซึ่งจะเรียกว่า Sea Freight ส่วนใหญ่มักจะเหมาะกับสินค้าที่มีน้ำหนักเกิน 300 กิโลกรัม หรือมีปริมาตรมากกว่า 1 ลูกบาศก์เมตร และเหมาะกับสินค้าที่ไม่เร่งรีบต้องใช้งาน การขนส่งทางเรือมีบริการทั้งแบบการบรรทุกแบบไม่เหมาพื้นที่ทั้งตู้คอนเทนเนอร์ (LCL) และการบรรทุกแบบเหมาพื้นที่ทั้งตู้คอนเทนเนอร์ (FCL)
การจัดเตรียมเอกสารนำเข้า-ส่งออก เป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่งในการขนส่ง เพราะผู้ประกอบการต้องจัดเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนถูกต้องตามระเบียบการนำเข้า-ส่งออก ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดและขั้นตอนในการจัดเตรียมเอกสารแต่ละประเภททำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินการ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง ทำให้เสียเวลาเกินความจำเป็น และในบางครั้งทำให้ต้องเสียค่าปรับโดยไม่จำเป็น เราสามารถช่วยผู้ประกอบการในเรื่องเอกสารต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถขนส่งสินค้าเพื่อดำเนินกิจการธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การคำนวณภาษีนำเข้าจะใช้ราคา CIF ในการคำนวณภาษี ราคา CIF คือ ผลรวมของราคา 3 รายการ ได้แก่

  • Cost (ราคาสินค้า) ซึ่งดูได้จาก Commercial Invoice
  • Insurance (ค่าประกันภัย) โดยทั่วไปประมาณ 1% ของราคาสินค้า
  • Freight (ค่าขนส่งระหว่างประเทศ) ตามอัตราค่าขนส่งที่ใช้บริการ

ให้เอาทั้ง 3 รายการมารวมกัน ก็จะได้ราคา CIF ซึ่งย่อมาจาก Cost + Insurance + Freight
วิธีการคำนวณ

  • ( ค่าสินค้า + ประกันภัย + ค่าขนส่งระหว่างประเทศ ) = ราคา CIF
  • ราคา CIF x อัตราภาษีขาเข้า = อากรขาเข้า
  • (ราคา CIF + อากรขาเข้า) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • อากรขาเข้า + ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ค่าภาษีทั้งหมดที่ต้องชำระให้แก่กรมศุลกากร

หมายเหตุ : ถ้าเป็นของใช้ส่วนตัวและของใช้ในบ้านเรือนที่เป็นของเก่าใช้แล้ว จะประเมินราคาจากราคาที่ให้โดยผู้นำของเข้าหรือตามสภาพค่าเสื่อมของของใช้ส่วนตัวนั้นๆ

HS CODE (Harmonized System) หรือ พิกัดศุลกากร เป็นระบบการจำแนกประเภทและระบุชนิดสินค้าด้วยรหัสตัวเลข 6 หลัก สำหรับการจำแนกอัตราภาษีอากร ซึ่งประกาศใช้โดย องค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization: WCO) เกิดจากความร่วมมือกันของสมาชิกกว่า 176 ประเทศ และประเทศไทยได้เข้าร่วม เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 และระบบนี้ได้รับการยอมรับจากองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) จึงได้นำมาใช้เป็นสากลทางการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากแต่ละประเทศมีสินค้าที่หลากหลายและแต่ละประเทศอาจมีวัตถุดิบไม่เหมือนกันและมีชื่อเรียกแตกต่างกัน จึงต้องมีระบบบางอย่างที่กำหนดให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันในระดับสากลเกี่ยวกับประเภทและชนิดสินค้าในการขนส่ง จึงมีการรวมกลุ่มแล้วกำหนดเกณฑ์ให้เข้าใจตรงกัน และได้มีการประกาศใช้ระบบ HS CODE ขึ้น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

Save